อะคริลิกกันซึม ต่างกับ ซีเมนต์กันซึมอย่างไร

อะคริลิกกันซึม ต่างกับ ซีเมนต์กันซึมอย่างไร

ทำความรู้จักอะคริลิกทากันซึม
‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ระบบกันซึมสำหรับงานก่อสร้างหรือซ่อมแซมที่อยู่อาศัยถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะประเทศไทยเป็นเขตร้อนชื้นมีฝนตกปริมาณมาก ในอีกไม่นานก็จะเข้าสู่ฤดูฝนกัน ซึ่งเมื่อฝนตกหนักติดต่อกันก็จะเกิดปัญหารั่ว ยกตัวอย่าง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ หรือทาวน์โฮมก็ดี เรามักพบจุดรั่วซึมคล้าย ๆ กันได้แก่ บริเวณดาดฟ้า หลังคา และผนังบ้าน อันมีสาเหตุมาจากไม่ได้ทำระบบกันซึมตั้งแต่แรกหรือเสื่อมสภาพ

แล้วปัญหามาจากไหน
‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ บ้านที่เก่ามาก ๆ สร้างมา20 ปีขึ้นไป อาจไม่ได้‎‏‏‎ทำระบบกันซึมตั้งแต่แรกหรือกันซึมของเก่าที่ทำไว้เสื่อมสภาพ หรือในบางครั้งอาจเกิดจากการแตกร้าวบนพื้นผิวคอนกรีตดาดฟ้าหรือวัสดุมุงหลังคา เป็นเหตุให้น้ำไหลซึงลงสู่ชั้นล่าง ทำให้ฝ้าเพดานเกิดรอยน้ำหยุดเป็นคราบ ซึ่งหากไม่รีบแก้ไขปล่อยทิ้งไว้นานฝ้าเพดานอาจเกิดการโก่งตัวและทะลุเป็นรูได้ อีกกรณีคือผนังกำแพงที่แตกร้าว หรือบัวภายนอกที่หลุดออก ก็สามารถเป็นทางผ่านของน้ำฝนเข้าไปสร้างความเสียหายแก่ผนังภายในทำให้เกิดเป็นคราบเชื้อรา ขี้เกลือ จนกระทั่งสีโป่งพองหลุดล่อนตามมาได้

อะคริลิกกันซึม กับ ซีเมนต์กันซึม
‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎โดยทั่วไปแล้วผลิตภัณฑ์สำหรับแก้ปัญหานิยมใช้กันมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ ซีเมนต์กันซึม และ อะคริลิกกันซึม ซึ่งโดยลักษณะแล้ว ทั้ง 2 ชนิดมีความแตกต่างกันคือ ตัวซีเมนต์กันซึม เนื้อผลิตภัณฑ์เป็นผงจึงจำเป็นต้องนำไปผสมน้ำก่อนนำไปใช้งาน ข้อเสียคือในบางครั้งหากผู้ใช้ไม่ชำนาญอาจไม่ได้ส่วนผสมที่ถูกต้องทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหารั่วซึมให้หมดไปได้ ขณะที่ อะคริลิกกันซึมจะมีลักษณะเป็นเนื้อครีมเหนียวข้น คล้ายกาวหรือยาง ใช้งานง่ายกว่าเพราะแค่เปิดฝาก็สามารถใช้งานได้ทันที ไม่ต้องผสมน้ำให้ยุ่งยาก เหมาะสำหรับทากันซึมบริเวณดาดฟ้า หลังคา หรือผนัง จบงานไว้ ทำเองได้ ‎‏‏‎อะคริลิกทากันซึมสำเร็จรูปพร้อมใช้มักจะใช้งานง่ายแค่เปิดฝาใช้ทากันซึมได้ทันที ไม่ต้องผสมน้ำให้ยุ่งยาก วิธีใช้คือทาด้วยแปรงทาสีหรือลูกกลิ้งก็ได้ เมื่อแห้งตัวจะมีลักษณะคล้ายแผ่นยางบาง ๆ เคลือบพื้นผิวช่วยป้องกันการซึมผ่านของน้ำ

สมบัติของกันซึมแต่ละแบบ
ซีเมนต์กันซึม
‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ โดยทั่วไปทนน้ำขังได้ดีกว่าอะคริลิกกันซึม แต่ไม่ค่อยทนกับแสงแดดและรัวสียูสี ด้วยคุณสมบบัตินี้เราจึงนิยมใช้ซีเมนต์กันซึมกับงานที่มีวัสดุปิดทับ เช่น การติดตั้งระบบกันซึมห้องน้ำ ซึ่งจะเป็นพื้นที่ที่ไม่ถูกแสงแดดโดยตรง และนิยมปูกระเบื้องปิดทับนั่นเอง

อะคริลิกกันซึม
‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ มีความยืดหยุ่นสูงกว่าซีเมนต์กันซึม สามารถปล่อยเปลือยได้ เพราะทนทานต่อแสงแดดและแสงยูวีมากกว่าซีเมนต์กันซึม แต่จะไม่ทนกับสภาพน้ำขังแบบเป็นแอ่ง ที่ขังอยู่เป็นเวลานานๆ ได้ ดังนั้นเราจึงนิยมใช้อะคริลิกกันซึมกับงานดาดฟ้าและหลังคา ซึ่งจะเจอแดดแจอแสงยูวีที่มากกว่า และไม่จำเป็นต้องมีวัสดุปูทับ

ซีเมนต์กันซึมสามารถใช้กับงานแบบไหนได้บ้าง

ห้องน้ำ
‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ห้องน้ำเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ใช้งานบ่อยและมักจะเกิดความชื้น เมื่อห้องน้ำมีอายุการใช้งานที่นานขึ้นก็อาจเกิดการชำรุด เช่น บริเวณกระเบื้อง บริเวณพื้นที่เกิดการรั่วซึม หรือตามร่องยาแนว หลุดร่อน ถ้าไม่ได้ทำกันซึมเอาไว้ อาจส่งผลให้อนาคตห้องน้ำอาจเกิดการรั่วซึมของน้ำได้ ดังนั้น ควรฉาบลงบนพื้นก่อนปูกระเบื้อง เพราะจะช่วยป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้

สระว่ายน้ำ บ่อปลา
‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ เคลือบกันซึมเพื่อป้องกันโครงสร้างภายในอย่างคอนกรีต เนื่องจากคอนกรีตอย่างเดียวไม่สามารถป้องกันน้ำได้ และอาจทำให้สึกกร่อนได้ในระยะยาวจากสนิมที่กัดกินคอนกรีต หากบานปลายมากอาจต้องทำการรื้อสระกันเลยทีเดียว

พื้นที่อื่นๆ ที่ต้องป้องกันการรั่วซึม
‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ พื้นที่ที่เหมาะกับการใช้ซีเมนต์กันซึมนั้นควรจะต้องมีวัสดุปิดทับ เช่น ติดตั้งระบบกันซึมด้วยซีเมนต์กันซึมที่ห้องใดห้องหนึ่ง แล้วปูทับด้วยกระเบื้อง ไม่ควรปล่อยเปลือยเพราะซีเมนต์กันซึมนั้นไม่ทนต่อแสงแดดและรังสียูวี

ซีเมนต์กันซึมสามารถใช้กับงานแบบไหนได้บ้าง

ห้องน้ำ
‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ห้องน้ำเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ใช้งานบ่อยและมักจะเกิดความชื้น เมื่อห้องน้ำมีอายุการใช้งานที่นานขึ้นก็อาจเกิดการชำรุด เช่น บริเวณกระเบื้อง บริเวณพื้นที่เกิดการรั่วซึม หรือตามร่องยาแนว หลุดร่อน ถ้าไม่ได้ทำกันซึมเอาไว้ อาจส่งผลให้อนาคตห้องน้ำอาจเกิดการรั่วซึมของน้ำได้ ดังนั้น ควรฉาบลงบนพื้นก่อนปูกระเบื้อง เพราะจะช่วยป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้

สระว่ายน้ำ บ่อปลา
‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ เคลือบกันซึมเพื่อป้องกันโครงสร้างภายในอย่างคอนกรีต เนื่องจากคอนกรีตอย่างเดียวไม่สามารถป้องกันน้ำได้ และอาจทำให้สึกกร่อนได้ในระยะยาวจากสนิมที่กัดกินคอนกรีต หากบานปลายมากอาจต้องทำการรื้อสระกันเลยทีเดียว

พื้นที่อื่นๆ ที่ต้องป้องกันการรั่วซึม
‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ พื้นที่ที่เหมาะกับการใช้ซีเมนต์กันซึมนั้นควรจะต้องมีวัสดุปิดทับ เช่น ติดตั้งระบบกันซึมด้วยซีเมนต์กันซึมที่ห้องใดห้องหนึ่ง แล้วปูทับด้วยกระเบื้อง ไม่ควรปล่อยเปลือยเพราะซีเมนต์กันซึมนั้นไม่ทนต่อแสงแดดและรังสียูวี

‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ทั้งอะคริลิกทากันซึมสำเร็จรูปพร้อมใช้ และซีเมนต์กันซึม  สามารถปรึกษาและสั่งซื้อได้แล้ววันนี้ผ่านทาง Line ของ เลิศวสิน นะครับ