นํ้าหมักจุลินทรีย์มีกี่แบบนะ

นํ้าหมักจุลินทรีย์มีกี่แบบนะ

       นํ้าหมักจุลินทรีย์มีชื่อหลากหลาย เช่น นํ้าหมักชีวภาพ นํ้าเอ็นไซม์ นํ้าหมักพืช นํ้าไอออนิก ปัจจุบันนํ้าหมักจุลินทรีย์สามารถพัฒนาให้ใช้ประโยชน์ได้มากมายหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นด้านปศุสัตว์ เพื่อ ช่วยกําจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มสัตว์ ไก่ และสุกร ด้านประมงช่วยควบคุมคุณภาพนํ้าในบ่อเลี้ยง สัตว์นํ้าได้ ด้านสิ่งแวดล้อมช่วยบําบัดนํ้าเสียจาก การเกษตร ปศุสัตว์ การประมง โรงงาน อุตสาหกรรม ชุมชน และสถานประกอบการทั่วไป ช่วยกําจัดกลิ่นเหม็นจากกองขยะ ปรับสภาพของเสีย เช่น เศษอาหารจากครัวเรือนให้เป็นประโยชน์ต่อการเลี้ยงสัตว์ และการเพาะปลูกพืช นํ้าหมัก จุลินทรีย์กว่าร้อยละ 90 ของผลิตภัณฑ์ในท้องตลาด มีวิธีผลิตที่ง่ายๆ มีสูตรการหมักหลากหลาย แต่ ขาดข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์รองรับ จึงยากต่อการ ควบคุมคุณภาพและความปลอดภัย ทําให้ขาดความน่าเชื่อถือในตัวผลิตภัณฑ์ มีการโฆษณาอวดอ้าง รักษาได้สารพัดโรคร้าย ใช้ทําความสะอาดได้สารพัด สามารถใช้งานได้ทุกประเภท จนดูเหมือนว่าเป็น นํ้ามหัศจรรย์ใช้งานได้ครอบจักรวาล ก่อนที่จะ หลงเชื่อคํากล่าวอ้างดังกล่าวลองมาอ่านบทความนี้เพื่อทำความรู้จักกับน้ำหมักให้มากขึ้นกันครับ

ประเภทของนํ้าหมักจุลินทรีย์         
นํ้าหมักจุลินทรีย์โดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ

1. นํ้าหมักจุลินทรีย์ที่ใช้สําหรับพืชและสัตว์ มักใช้วัตถุดิบที่มาจากขยะ สิ่งเหลือใช้ทั้งจากพืชและสัตว์ หรือบางสูตรอาจใช้พืช ผัก และผลไม้ ตามวัตถุประสงค์ของการนําไปใช้ในพืชหรือสัตว์ แต่ละชนิด โดยกระบวนการผลิตจะทําอย่างง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก

2. นํ้าหมักจุลินทรีย์เพื่อการบริโภค จะต้อง คัดเลือกวัตถุดิบ เช่น พืช ผัก ผลไม้ ตามคุณสมบัติ ด้านโภชนาการและสรรพคุณของพืชนั้น ๆ ที่สําคัญ คือกระบวนการผลิตนํ้าหมักจุลินทรีย์เพื่อการบริโภค จะต้องคํานึงถึงความปลอดภัยเป็นสําคัญ มีการ ควบคุมความปลอดภัยตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้นจน ขั้นตอนสุดท้ายของการผลิตโดยไม่ให้มีสิ่งปนเปื้อน ที่เป็นอันตราย ทั้งจากวัตถุดิบหรือที่เกิดขึ้นใน กระบวนการหมัก นํ้าหมักจุลินทรีย์เพื่อการบริโภค จะมีมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช. 481/2547 มาตรฐานนํ้าหมัก จุลินทรีย์โดยสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ควบคุม คือ คือ ไม่พบสิ่งปลอมปน เอทานอล ต้องไม่เกินร้อยละ 3 เมทานอลต้องไม่เกิน 240 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนจุลินทรีย์นั้นในการหมักอาจพบจุลินทรีย์ได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มก่อโรคและกลุ่มเสริมสุขภาพ จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคที่ต้องควบคุมคือ ซาลโมเนลลา ต้องไม่พบในตัวอย่างที่นํามาทดสอบจํานวน 50 กรัม สตาฟิโลค็อกคัส ออเรียส ต้องไม่พบในตัวอย่าง 1 มิลลิกรัม คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ ต้อง ไม่พบในตัวอย่าง 0.1 กรัม เอสเชอริเชีย โคไล ต้องน้อยกว่า 2.2 ต่อตัวอย่าง 100 มิลลิลิตร ยีสต์และราต้องไม่เกิน 100 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร

3. นํ้าหมักจุลินทรีย์ที่ใช้สําหรับครัวเรือน ปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น นํ้าหมักจุลินทรีย์มะกรูด ใช้สําหรับซักผ้า ล้างจาน นํ้าหมักจุลินทรีย์มะเฟือง ใช้ทําสบู่ หรือน้ำหมักจุลินทรีย์ดับกลิ่น บำบัดของเสีย

หมักยิ่งนานยิ่งดีจริงหรือ
     การหมักแต่ละชนิดจะมีองค์ประกอบที่ เหมาะสม 2 ประการ คือ ระยะเวลาของการเจริญ ของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ ซึ่งหากมีการหมัก นานกว่า 2 ปี จุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็จะตายหรือหมดไป อีกประการหนึ่งคือ การหมักจะทําให้เราได้สารสําคัญ ออกมา เพราะเมื่อสารสําคัญออกมาหมดแล้ว กระบวนการสกัดก็สิ้นสุดลง ดังนั้น หากหมักนาน เกินไปก็อาจจะไม่มีประโยชน์

นํ้าหมักจุลินทรีย์ใช้ได้ครอบจักรวาลหรือไม่
     ประเด็นนี้ปัญหาเกิดจากการโฆษณาเกินจริง เพราะเป็นการนําสมบัติของนํ้าหมักจุลินทรีย์ทั้งหมด มากล่าวอ้างซึ่งไม่ถูกต้อง ประการแรกนํ้าหมัก
จุลินทรีย์เพื่อการบริโภคเป็นการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร (พืช ผัก ผลไม้) เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ไม่ใช่เป็นยา ประการที่สอง นํ้าหมักแต่ละชนิดจะมี คุณสมบัติต่างกัน จากวัตถุดิบที่ต่างกัน หัวเชื้อ จุลินทรีย์และกระบวนการหมักต่างกัน ดังนั้น นํ้าหมักแต่ละชนิดไม่สามารถดูแลสุขภาพได้ครอบจักรวาล

นํ้าหมักจุลินทรีย์แบบภูมิปัญญาชาวบ้านใช้ได้ไหม
     แต่เดิมมาการใช้นํ้าหมักจุลินทรีย์ ใช้เป็น ลักษณะพื้นบ้าน ผลิตกันเองในครอบครัวหรือ ในหมู่บ้าน ไม่ได้ทําจํานวนมาก ไม่มีการขาย ไม่มีการเห่อตามกระแส แต่ปัจจุบันมีการผลิตเพื่อการค้า จํานวนมากขึ้น การควบคุมคุณภาพมาตรฐาน จึงต้องมีการพัฒนาเพื่อความปลอดภัย และเพื่อได้ผลิตภัณฑ์ ที่มีประโยชน์ในการเสริมสร้างสุขภาพ

การเก็บรักษานํ้าหมักจุลินทรีย์
     สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานอย่างน้อย 6 เดือน ในอุณหภูมิห้องปกติ ไม่เกิน 45-50 องศาเซลเซียส ปิดฝาให้สนิท อย่าให้อากาศเข้าและอย่าเก็บไว้ในตู้เย็น ทุกครั้งที่นําไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท การนํา นํ้าหมักจุลินทรีย์ไปใช้ต่อควรใช้ภาชนะที่สะอาด และใช้ให้หมดภายในเวลาที่เหมาะสม ถ้านํ้าหมัก จุลินทรีย์เสีย จะมีกลิ่นเน่าเหม็น กรณีเก็บไว้นานๆ โดยไม่มีการเคลื่อนไหวภาชนะจะมีฝ้าขาว ๆ เหนือผิวนํ้า เมื่อเขย่าแล้วทิ้งภาชนะไว้ ฝ้าสีขาวจะสลายตัว ไปในนํ้าจุลินทรีย์เหมือนเดิม

     นํ้าหมักจุลินทรีย์สามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ทั้งในด้านการเกษตร ปศุสัตว์ ประมง สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข รวมถึงเป็นอาหาร และ เครื่องสําอาง เมื่อท่านรู้จักนํ้าหมักจุลินทรีย์กันดีแล้ว ก่อนหลงเชื่อโฆษณาอวดอ้างต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคควรพิจารณาประเด็นอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อเป็น เกณฑ์ตัดสินใจ ได้แก่ ความน่าเชื่อถือของผู้ผลิต และแหล่งผลิต มีเอกสารแสดงผลการวิเคราะห์ คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ และที่สําคัญผลิตภัณฑ์ นั้นต้องได้รับการรับรองจากสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม หรือคณะกรรมการอาหารและยา ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย ในสุขภาพของตัวคุณท่านเอง

 EM ของเลิศวสินEM หมักเอง
ส่วนประกอบส่วนประกอบที่สำคัญ คือ จุลินทรีย์ซึ่งผสมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่าง aerobic bacteria และ anaerobic bacteria และส่วนประกอบช่วยเสริมการทำงานของจุลินทรีย์ได้จุลินทรีย์เท่านั้น ซึ่งจุลินทรีย์ที่มีไม่คงที่และไม่ทราบชนิด และสารอาหารจากวัสดุที่ใช้มาหมัก
ชนิดของจุลินทรีย์เป็นจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งผ่านการคัดเลือกสายพันธุ์ จากนั้นนำมาผ่านกระบวนการผลิตโดยอาศัยเทคโนโลยีชีวภาพที่ทันสมัย และควบคุมโดยผู้เชี่ยวชาญ จึงมั่นใจได้ว่าไม่เป็นอันตราย และปราศจากจุลินทรีย์ก่อโรคจุลินทรีย์หลายกลุ่มไม่ทราบชนิดที่แน่นอน จึงอาจมีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ก่อโรค
ขั้นตอนการเตรียมจุลินทรีย์คัดเลือกจุลินทรีย์สายพันธุ์พิเศษ ซึ่งมีความจำเพาะในการย่อยสลายสารอินทรีย์ และเพื่อลดกลิ่นโดยเฉพาะจุลินทรีย์เกิดจากการหมักเศษผลไม้ อาหาร และกากน้ำตาล จึงมีสีน้ำตาลเข้ม จำเพาะต่อน้ำตาลมากที่สุด
กระบวนการผลิตผลิตจุลินทรีย์ภายในห้องปฏิบัติการอันทันสมัย จากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ไม่ทราบแหล่งที่มาที่แน่ชัด
การนำไปใช้งานจุลินทรีย์มีความแข็งแรง อยู่ในสภาพพร้อมใช้ จึงสามารถนำไปใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องผสมกับสารอื่นๆต้องนำไปเจือจางกับสารอื่น ๆ เช่น น้ำ, เหล้า, กากน้ำตาล ตามอัตราส่วนที่เหมาะสม ดังนั้นถ้าผู้ใช้ไม่ทราบอัตราส่วนที่แน่นอนประสิทธิภาพของ EM จะลดลง และขึ้นกับคุณภาพของสารที่ใช้เจือจางด้วย
อายุของผลิตภัณฑ์เมื่อเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 0-40 องศาเซลเซียส สามารถเก็บได้นานถึง 1 ปีผลิตภัณฑ์ที่เจือจางแล้วเก็บไว้ได้ไม่เกิน 7 วัน เพราะจุลินทรีย์จะตาย ทำให้มีกลิ่นเน่าเหม็น และเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
ประสิทธิภาพ– สามารถย่อยสลายไขมันได้สามารถย่อยสลายเฉพาะสารอินทรีย์พื้นฐาน เช่น แป้ง โปรตีน
 – สามารถย่อยสลายสารอินทรีย์พื้นฐาน เช่น แป้ง และโปรตีน สิ่งสกปรกอื่นๆได้ดี 
จุดเด่นและแตกต่างมีกลิ่นหอม,ไม่เลอะเทอะ, ใช้งานง่ายในคล้ายการใช้น้ำยาทำความสะอาดเอนกประสงค์ทั่วไปจึงสามารถใช้ทำความสะอาดทั่วไปและจะไหลไปสู่แหล่งน้ำเพื่อบำบัดไปในขั้นตอนเดียว และสามารถนำไปเทตามจุดต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจึงเกิดการประหยัดและง่ายในการใช้งานมีสีน้ำตาล และ มีกลิ่นเหม็น ต้องเตรียมผสมก่อนการใช้งานทำให้ไม่เหมาะกับการใช้ในครัวเรือนทั่วไป เหมาะกับการเกษตรมากกว่า

          เห็นประโยชน์ของ EM แล้ว หากใครมีปัญหากับกลิ่นห้องน้ำ หรือสนใจผลิตภัณฑ์ EM สามารถติดต่อ ฝ่ายขายเลิศวสิน โทร. 053026155 ได้เลยครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก ธีระ ปานทิพย์อําพรโครงการวิทยาศาสตร์ชีวภาพ กรมวิทยาศาสตร์บริการ