การจัดการน้ำเสีย และ เทคนิคการใช้ EM ให้ได้ประสิทธิภาพ

การจัดการน้ำเสีย และ เทคนิคการใช้ EM ให้ได้ประสิทธิภาพ

       การที่น้ำ ”เน่าเสีย” หรือด้อยคุณภาพลง เนื่องมาจากเกิดการย่อยสลายของสารอินทรีย์ เช่น สิ่งปฏิกูล ขยะมูลฝอย (ในเขตชุมชน เมือง) หรือเศษซากพืช (บริเวณพื้นที่เกษตร เช่น นาข้าว สวน) ที่จมอยู่ใต้น้ำโดยจุลินทรีย์ที่อยู่ในธรรมชาติ ซึ่งขณะที่เกิดการย่อยสลายนั้นจะเกิดการใช้ออกซิเจนในน้ำ ทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง (อาจจะเรียกว่าน้ำเริ่มเสีย) หลังจากนั้นสารอินทรีย์จะถูกย่อยสลายต่อโดยจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้อากาศต่อไป

       ผลของการย่อยสลายครั้งนี้ จะเกิดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (ก๊าซไข่เน่า) แอมโมเนีย หรืออาจเกิดกรดอินทรีย์ (ซึ่งก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นเปรี้ยว) สภาวะของการย่อยสลายสารอินทรีย์นั้นขึ้นอยู่กับปริมาณของออกซิเจนในน้ำ

       โดยทั่วไปแล้วออกซิเจนในน้ำเกิดขึ้นจากการสังเคราะห์แสงของจุลินทรีย์ที่สังเคราะห์แสงหรือพืชน้ำและจากการถ่ายเทจากอากาศที่ผิวหน้า ซึ่งการถ่ายเทโดยธรรมชาตินั้นเป็นปัจจัยของ กระแสลม หรือความเร็วของน้ำ ดังนั้นในสภาพที่น้ำมีการไหลถ่ายเทจะช่วย ให้มีการถ่ายเทออกซิเจน

ประเภทน้ำเสียตามพื้นที่
        ในเขตเมือง สำหรับพื้นที่ที่มีอัตราการไหลสูงมากนั้น ถ้าใต้พื้นน้ำมีสารอินทรีย์ หรือขยะสะสมอยู่ จุลินทรีย์ในน้ำจะย่อยสลายสารอินทรีย์โดยใช้ออกซิเจน ส่งผลให้คุณภาพน้ำลดลง โดยดูจาก ค่าการละลายของออกซิเจนในน้ำ (DO) จะลดลง และค่าบีโอดี (BOD) ซึ่งเป็นค่าที่บอกปริมาณสารอินทรีย์ในน้ำจะเพิ่มขึ้น (ค่า DO ที่เหมาะสมไม่ควรต่ำกว่า 3 มิลลิกรัมต่อลิตร และค่าบีโอดีที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 2 มิลลิกรัมต่อลิตร)

การแก้ไข

  • ป้องกันการสะสมของสิ่งปฏิกูล ขยะมูลฝอย โดยการมีระบบการจัดเก็บ สิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยในพื้นที่ ออกมากำจัดให้เหมาะสม
  • เพิ่มออกซิเจนในน้ำ เช่น การทำน้ำตก การให้น้ำไหลเร็วปั่นป่วน การใช้เครื่องจักรให้อากาศ ฯลฯ
  • การเติมจุลินทรีย์หรือ EM ใน อาจไม่ส่งผลสำเร็จ หากความเข้มข้นของสิ่งสกปรกในรูป BOD น้อย หรือเจือจางเกินกว่าที่จุลินทรีย์จะกำจัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และความเร็วของน้ำทำให้จุลินทรีย์กระจายตัวในแหล่งน้ำมากจนเจือจางเกินไป
  • หากความเร็วของกระแสน้ำไม่มากนัก ไปจนถึงน้ำนิ่ง การถ่ายเทออกซิเจนในน้ำจะลดลง ถ้าที่พื้นใต้น้ำมีสารอินทรีย์สะสมอยู่ จุลินทรีย์จะย่อยสลายมากและออกซิเจนในน้ำลดลงจนสภาวะการย่อยสลายเริ่มเป็นแบบไม่ใช้อากาศ (DO ต่ำกว่า 2 มิลลิกรัมต่อลิตร) น้ำเริ่มมีสีคล้ำขึ้นจนถึงดำ เริ่มมีกลิ่นเหม็น pH ของน้ำต่ำลง มีฟอง และตะกอนดำ ผุดขึ้นมา ให้เพิ่มออกซิเจน โดยการใช้เครื่องเติมอากาศ
    การเติมจุลินทรีย์ หรือ EM สามารถทำได้ แต่ระดับน้ำควรไม่เกิน 3 เมตร เนื่องมาจาก ถ้าระดับความลึกมากกว่า 3 เมตร ออกซิเจนจากอากาศและแสงแดดไม่สามารถแพร่ลงได้ถึงพื้น ท้าให้จุลินทรีย์ที่เติมลงไปท้างานไม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และควรทำในพื้นที่จำกัด       

       สำหรับบริเวณพื้นที่การเกษตร จะต่างจากในเมือง น้ำเสียมักจะเกิดจากน้ำท่วม  ในกรณีพื้นที่เกษตรกรณีถูกน้ำท่วมเป็นเวลานาน จะมีซากพืชจมน้ำซึ่งเป็นแหล่งสารอินทรีย์ปริมาณมาก ส่งผลให้เกิดปัญหาคือเกิดการย่อยสลายและดึงออกซิเจนในน้ำให้ลดลงอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะมีกระแสน้ำไหลเร็ว แต่อาจจะไม่สามารถทำให้ออกซิเจนถูกถ่ายเทลงน้ำได้เพียงพอสำหรับการย่อยสลาย 

การแก้ไข

  • การเพิ่มออกซิเจนในน้ำ เช่น ทำน้ำตก ทำให้น้ำไหลเร็วปั่นป่วน ใช้เครื่องจักรให้อากาศ ฯลฯ
  • การเติมจุลินทรีย์อาจจะไม่ค่อยผลสำเร็จหากน้ำไหลเร็ว เนื่องจากความเร็วของน้ำทำให้จุลินทรีย์กระจายตัวในแหล่งน้ำมากจนเจือจางเกินไป
  • เร่งเอาเศษวัชพืชไปทำปุ๋ย ซึ่งช่วยทำให้มีสารอินทรีย์ในพื้นที่ท่วมขังน้อยลง
  • ในกรณีที่น้ำเริ่มลดระดับลง และมีน้ำท่วมขัง การเติมจุลินทรีย์หรือ EM ในช่วงนี้สามารถทำได้ในพื้นที่จำกัด
  • เมื่อน้ำลด น้ำถูกระบายลงลำคลอง ส่งผลให้สารอินทรีย์ไหลลงไปตกค้างในลำคลองและแหล่งน้ำจำนวนมาก ก่อให้เกิดน้ำในลำคลองเน่าเสียขึ้น ดังนั้นควรเตรียมการทำความสะอาดลำคลอง เช่น การขุดลอกคลอง การใช้น้ำดันน้ำ (flush) เพื่อให้มีการตกตะกอนของสารอินทรีย์ในน้ำลง และมีการตรวจวัดคุณภาพน้ำเป็นระยะ ๆ เพื่อจัดการเรื่องการเติมอากาศ จนระดับค่า DO เข้าสู่ภาวะปกติ DO > 4 มิลลิกรัมต่อลิตร นอกจากนี้ อาจใช้ระบบบึงประดิษฐ์ เพื่อลดมลภาวะก่อนที่จะปล่อยให้น้ำลงลำรางสาธารณะ  การสังเกตและตรวจวัดคุณภาพน้ำ (Field test) เบื้องต้น ท้าโดย ดู สี กลิ่น อุณหภูมิ ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) และค่าออกซิเจนละลายน้ำ (DO)

       Greenery EM และ Finn EM เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย ย่อยสลายของเสียต่าง ๆ และการกำจัดกลิ่นเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ “ชนิดไม่ใช้ออกซิเจน” (Anaerobic Bacteria) ดังนั้นในน้ำเสียจะมีหรือไม่มีออกซิเจนก็ตาม เช่น บ่อเกรอพ ถังบำบัด หรือร่องน้ำ ท่อน้ำ มี่ไม่ได้มีออกซิเจนอย่างพอเพียง จุลินทรีย์ก็สามารถทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียได้ทันที คุณสมบัติอีกประการคือ การกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากสารอินทรีย์ Greenery EM จะช่วยเพิ่มและเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียการย่อยสลายของเสียต่าง ๆ ในน้ำเสียได้มากขึ้น และเหมาะกับการใช้ในการบำบัดน้ำเสียที่น้ำเน่าเสียเกิดจากการขาดออกซิเจน เนื่องจะทำให้ได้ประโยชน์สูงสุด

       เลิศวสินคือผู้จำหน่ายจุลินทรีย์ Greenery EM และ Finn EM ซึ่งสั่งทำขึ้นตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งลูกค้าที่มีปัญหาห้องน้ำส่งกลิ่นเหม็นเหมาะกับการใช้กำจัดกลิ่นจากสัตว์เลี่ยง หรือหอพัก ที่พักอาศัยที่ระบบบำบัดทำงานได้ไม่เต็มที่ Greery EM และ Finn EM เป็นจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียจากธรรมชาติที่สังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ดับกลิ่นห้องน้ำ ห้องสุขาหรือห้องส้วม และบำบัดน้ำเสียโดยเฉพาะ โดยทั่วไปจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียจะมีกลิ่นฉุนออกเปรี้ยวรุนแรง แต่จุลินทรีย์ของเราจะมีกลิ่นอ่อน เหมาะใช้งานดังต่อไปนี้.-

– ดับกลิ่นห้องน้ำในบ้าน โรงแรม คอนโดมิเนี่ยม อพาร์ทเม้นท์ เกสเฮ้าส์ ออฟฟิศ ฯลฯ
– ดับกลิ่นบ่อเกรอะ, เติมบ่อเกรอะ, บำบัดน้ำเสีย , ดับกลิ่นบ่อบำบัดน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็น ยกเว้นระบบแบบ Activated Sludge ซึ่งต้องทราบสาเหตุที่ชัดเจนก่อน
– ทำความสะอาดห้องน้ำ ทำความสะอาดพื้นที่ที่มีกลิ่นจากสัตว์เลี้ยง
– บำบัดน้ำเสียในโรงงาน บำบัดน้ำเสียในอาคาร สถานประกอบธุรกิจทั่วๆไป
– ดับกลิ่นสัตว์เลี้ยงหรือทำความสะอาดที่อยู่สัตว์เลี้ยง
– ดับกลิ่นฟาร์มปศุสัตว์

          เห็นประโยชน์ของ EM แล้ว หากใครมีปัญหากับกลิ่นห้องน้ำ หรือสนใจผลิตภัณฑ์ EM สามารถติดต่อ ฝ่ายขายเลิศวสิน โทร. 053126155 หรือ ช้อปออนไลน์ Finn EM และ Greenery EM ได้เลยครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และไบโอเทค