เหล็กเส้น คืออะไร รู้ก่อนซื้อ รู้ก่อนใช้

เหล็กเส้น คืออะไร รู้ก่อนซื้อ รู้ก่อนใช้

         เหล็กเส้น วัสดุก่อสร้างสำคัญที่เปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของโครงสร้าง ช่วยเพิ่มความแข็งแรง ทนทาน รับแรงต่างๆ ให้กับอาคาร บ้าน ถนน สะพาน และงานก่อสร้างอื่นๆ

ทำไมต้องใช้เหล็กเส้น
เพิ่มความแข็งแรง: คอนกรีตมีแรงอัดที่ดี แต่มีแรงดึงต่ำ เหล็กเส้นจึงถูกนำมาเสริมคอนกรีต ช่วยให้โครงสร้างรับแรงดึง แรงเฉือน และแรงบิดได้ดีขึ้น
ป้องกันรอยร้าว: คอนกรีตเปราะ แตกหักง่าย เหล็กเส้นช่วยกระจายแรง ป้องกันรอยร้าว ทำให้โครงสร้างมีความคงทน
เพิ่มความยืดหยุ่น: เหล็กเส้นมีความยืดหยุ่นสูง ช่วยให้โครงสร้างสามารถรองรับแรงสั่นสะเทือน แรงกระแทก และการเสียรูปได้ดี

ประเภทของเหล็กเส้น
เหล็กเส้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ดังนี้
 
1. เหล็กเส้นกลม (Round Bar)
         ผิวเรียบเกลี้ยง หน้าตัดกลม มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 6-25 มิลลิเมตร นิยมใช้สำหรับงานโครงสร้างทั่วไป ปลอกเสา ปลอกคาน งานก่อสร้างขนาดเล็กและขนาดกลาง
 
ลักษณะการใช้งานเหล็กเส้นกลม
         ใช้สำหรับงานก่อสร้างที่รับแรงไม่มากนัก
         ใช้ทำปลอกเสา
         ใช้ทำปลอกคาน
         ไม่นิยมสำหรับงานยึดเกาะเช่นปูน เพราะเหล็กมีผิวเรียบมน ไม่เหมาะกับงานยึดเกาะ
         ใช้ทำเป็นตะแกรงไวร์เมช ตะแกรงต่างๆ

2. เหล็กข้ออ้อย (Deformed Bar)
         เหล็กเส้นข้ออ้อย คือเหล็กที่ใช้สำหรับงานก่อสร้างเสริมคอนกรีตที่ต้องการโครงสร้างแข็งแรง เช่น อาคารสูง คอนโดมิเนียม ถนนคอนกรีต สะพาน เขื่อน สนามบิน บ่อหรือสระน้ำ เป็นต้น มีลักษณะเป็นเส้นกลมที่มีบั้ง ผิวของเหล็กจะมีลักษณะเป็นปล้องๆ อยู่ตลอดเส้น เพื่อเพิ่มแรงยึดเหนี่ยวให้เหล็กกับคอนกรีตมากขึ้น
         เหล็กเส้นข้ออ้อย มีชั้นคุณภาพต่างๆ เช่น SD30, SD40, SD50 ซึ่งแสดงถึงกำลังรับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 3000, 4000, 5000 ksc.ตามลำดับ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 10 – 32 มิลลิเมตร และมีความยาวมาตรฐาน 10 เมตร และ 12 เมตร
เหล็กข้ออ้อย SD30, SD40, SD50 มีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 3000, 4000, 5000 ksc.ตามลำดับ โดยปกติจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง เช่น DB10, DB12(หมายถึง Deformed Bar ขนาด ศก.12มม.), DB16, DB20, DB25, DB28, DB32 ผิวของเหล็กเส้นจะมีลักษณะเป็นปล้องเพื่อเพิ่มแรงยึดเหนี่ยวให้เหล็กกับคอนกรีตมากขึ้น
การเลือกใช้ชนิดของเหล็กเส้นข้ออ้อย SD30, SD40, และ SD50 ขึ้นอยู่กับชนิดของโครงสร้างเป็นสำคัญ ลักษณะของเหล็กเส้นข้ออ้อยที่ดี ต้องมีระยะบั้งที่เท่ากันและสม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น ไม่มีสนิมรอยตำหนิ ไม่มีรอยปริและแตกร้าว ชนิดและความแตกต่างของเหล็กเส้น
ความยาวโดยปกติที่ขายกันในท้องตลาด คือ 10 ม. แต่อาจจะสั่งพิเศษ เช่น 12 ม. หรือมากกว่านั้นก็ต้องสั่งทำพิเศษ

เหล็กข้ออ้อยมีมาตรฐานและรายละเอียดดังนี้

SD – 40 หมายถึง กำลังจุดครากของเหล็ก 4,000 kg/cm2
SD – 50 หมายถึง กำลังจุดครากของเหล็ก 5,000 kg/cm2

SD40, SD50 ขนาดความยาว 10, 12 เมตร เหมาะสำหรับใช้งานก่อสร้างเสริมคอนกรีตที่ต้องการโครงสร้างแข็งแรง เช่น อาคารสูง, คอนโดมิเนียม, สะพาน, ถนนคอนกรีต, เขื่อน, สนามบิน, อุปกรณ์การเกษตร และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่น ๆ

การเลือกใช้เหล็กเส้น ควรพิจารณาปัจจัยต่างๆ ดังนี้

ประเภทโครงสร้าง: เลือกเหล็กเส้นให้เหมาะกับประเภทของโครงสร้าง เช่น บ้าน อาคาร ถนน สะพาน
แรงที่โครงสร้างต้องรับ: เลือกเหล็กเส้นที่มีความแข็งแรง ความต้านทานแรงดึง และการยืดหยุ่น เหมาะกับแรงที่โครงสร้างต้องรับ
มาตรฐาน: เลือกเหล็กเส้นที่มีมาตรฐาน มอก. รับรองความปลอดภัย
ราคา: เลือกเหล็กเส้นให้เหมาะกับงบประมาณ
เหล็กเส้น วัสดุก่อสร้างสำคัญ จำเป็นต้องเลือกใช้ให้ถูกต้อง เหมาะกับงาน เพื่อความแข็งแรง ทนทาน ปลอดภัย ของโครงสร้าง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือร้านค้าที่จำหน่ายเหล็กเส้น เพื่อเลือกซื้อเหล็กเส้นที่เหมาะสมกับความต้องการ

      สำหรับใครที่กำลังมองหาเหล็กเส้นสำหรับงานก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์ดังที่กล่าวมานี้สามารถปรึกษาและสั่งซื้อได้จาก เลิศวสิน นะครับ