หลักการออกแบบห้องน้ำสำหรับผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ตอนที่ 2

มาต่อกันสำหรับส่วนที่ 2 ของบทความ การออกแบบห้องน้ำที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยและผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานทุกคน บทความนี้จะกล่าวถึงหลักการออกแบบห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่ควรคำนึงถึง รวมถึงองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้การใช้งานง่ายขึ้นครับ

ความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยและผู้สูงอายุ
ราวจับ
ควรติดตั้งราวจับในตำแหน่งที่สะดวกสำหรับผู้ใช้งาน เช่น บริเวณโถสุขภัณฑ์ อ่างล้างหน้า และทางเดินเข้าออกห้องน้ำ การติดตั้งควรมีระยะติดตั้งที่เหมาะสม เช่น ความสูงจากพื้นถึงจุดศูนย์กลางราวจับประมาณ 80-90 ซม.
ธรณีประตู
ควรมีความสูงไม่เกิน 2 ซม. เพื่อลดอุปสรรคสำหรับผู้ใช้รถเข็นและลดโอกาสเกิดการสะดุดล้ม
ระบบแสงสว่างและการระบายอากาศ
ควรมีแสงสว่างเพียงพอ อย่างน้อย 323 LUX เพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจน ควรติดตั้งระบบระบายอากาศที่ดี เพื่อลดการสะสมของความชื้นที่อาจนำไปสู่การเกิดเชื้อราและกลิ่นไม่พึงประสงค์
สวิตช์ไฟและอุปกรณ์เตือนภัย
ติดตั้งสวิตช์ไฟในระดับที่เอื้อมถึงได้ง่าย เช่น สูงจากพื้น 90 ซม. และควรมีแสงเรืองแสงเพื่อให้มองเห็นในที่มืด
ควรมีอุปกรณ์สัญญาณเตือนภัยทั้งภายในและภายนอกห้องน้ำ ติดตั้งในระดับ 25 ซม. สำหรับผู้ที่ล้มนอนกับพื้น และ 90 ซม. สำหรับผู้ใช้รถเข็น

การเลือกวัสดุและอุปกรณ์เสริม
พื้นกันลื่น ควรเลือกใช้วัสดุที่มีพื้นผิวกันลื่น เพื่อลดโอกาสลื่นล้ม
กระจกนิรภัย ใช้กระจกที่สามารถรองรับแรงกระแทกได้ดี เพื่อลดอันตรายจากการแตกหัก หรือใช้กระจกนิรภัยที่ไม่แตกหลุดเป้นชิ้นเมื่อมีการแตกร้าว
ที่วางของ ควรติดตั้งที่วางของที่อยู่ในระดับที่สามารถหยิบจับได้ง่าย โดยไม่ต้องเอื้อมมากเกินไป
การออกแบบห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ความสะดวกสบาย และการใช้งานที่ง่ายดายจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ห้องน้ำได้อย่างปลอดภัย ลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุ และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ใช้งานในระยะยาว

หากคุณกำลังมองหาการออกแบบห้องน้ำที่รองรับผู้สูงอายุและผู้ป่วย ควรคำนึงถึงรายละเอียดทุกอย่างตามหลักการข้างต้น เพื่อให้มั่นใจว่าห้องน้ำของคุณเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับทุกคนในครอบครัว ซึ่งทางเลิศวสินก็มีบริการสุขภัณฑ์และอุปกรณ์สำหรับใช้ภายในห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุจำหน่ายเช่นกันครับ