วิธีการตรวจสอบบ้านหลังน้ำท่วมด้วยตัวเอง อย่างง่าย

วิธีการตรวจสอบบ้านหลังน้ำท่วมด้วยตัวเอง อย่างง่าย

        เมื่อหน้าฝนมาถึงสิ่งที่คนไทยต้องเผชิญนั้นก็คือ ปัญหาน้ำท่วมหนัก โดยเฉพาะปีนี้ จังหวัดเชียงใหม่ต้องประสบปัญหาน้ำท่วมไปแล้วสองครั้ง ซึ่งนอกจากส่งผลทำให้การเดินทางเป็นไปอย่างยากลำบาก เพราะการจราจรติดหนักแล้ว หลายบ้านก็มีน้ำท่วม ทำให้บ้านได้รับความเสียหาย รวมไปถึงเฟอร์นิเจอร์ และของใช้ต่างๆในบ้าน เช่นกัน
       และหลังน้ำลดลงแล้ว หลายคนที่เจอบ้านตัวเองพัง แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มยังไง วันนี้เราจึงได้เขียนบทความเรื่อง วิธีการตรวจสอบหลังบ้านน้ำท่วมด้วยตัวเอง ทำอย่างไรบ้าง เปป็นแนวทางไว้ตรวจสอบบ้านกันครับ

1. กำแพงคอนกรีตรอบบ้าน
       เมื่อน้ำท่วมบ้านจะทำให้ดินบริเวณฐานรากอาจจะเกิดการอ่อนตัว ทำให้ความสามารถในการรับน้ำหนักน้อยลง ยิ่งถ้ามีการปะทะของมวลน้ำ จำทำให้กำแพงเอียงได้  ให้ลองตรวจสอบด้วยตาก่อน ถ้ารั้วเอียงไม่ตั้งฉากเหมือนเดิม ควรเรียกช่างมาแก้ไข
 หากมีรูใต้รั้ว โดยหลังจากน้ำลดลงดินบางส่วนอาจจะถูกพัดออกไปด้วย ทำให้เกิดรูโพรงใต้คาน เป็นสาเหตุให้รั้วเอียง พัง และสัตว์เลื้อยคลานอันตรายเข้ามาในบริเวณบ้านได้ กรณีนี้อาจเติมดินลงไปที่โพรงได้ แต่ถ้าใหญ่มาก เรียกช่างน่าจะดีกว่า
2. พื้นไม้ปาร์เกต์
       วัสดุชนิดนี้ไม่ทนความชื้นและน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลานาน ทำให้พื้นอาจจะเปื่อย บวม และหลุดออกมา ให้เช็ดและทิ้งไว้ให้แห้ง ถ้าหลุดสามารถทากาวกลับได้ อาจต้องขัดและทาน้ำยาใหม่
3. ผนังบ้าน
       ผนังไม้ ให้ทำความสะอาด แล้วทิ้งไว้จนกว่าผนังจะแห้งสนิท จึงใช้น้ำยารักษาเนื้อไม้ชโลมลงที่ผิวไม้ อาจต้องใช้น้ำยาป้องกันเชื้อราร่วมด้วย
       ผนังก่ออิฐฉาบปูน ให้ทำความสะอาด แล้วทิ้งไว้จนกว่าผนังจะแห้งสนิท ต้องตรวจสอบท่อ และสายไฟที่ฝังในผนังด้วย
       ผนังยิบซั่มบอร์ด ถ้าโดนน้ำจะเสียหาย ต้องเลาะติดตั้งใหม่
       กระจก ทำความสะอาดและตรวจหารอยแตกร้าว

4. ฝ้าเพดาน
       ฝ้าเพดานยิปซั่ม ถ้าถึงขั้นเปียกน้ำ ให้เปลี่ยนใหม่ และตรวจสอบโครงด้วย
5. ประตูบ้าน ตรวจเช่นเดียวกับกำแพง ถ้าทำจากไม้และบวมผิดรูปจนแก้ไม่ได้ แนะนำให้เปลี่ยนเป็น UPVC จะเหมาะกว่า
6. บานพับ ลูกบิด รูกุญแจ เหล็กดัด เช็ดทำความสะอาดให้แห้ง และพยายามระบายความชื้นออกให้หมด หากเกิดสนิมให้ขัดสนิมออก และจึงชโลมน้ำมัน
7. ปลั๊กไฟและสวิตซ์ ต้องระวังมากเนื่องจากอาจมีน้ำขังในท่อ ซอกต่างๆ ให้ลงเบรคเกอร์ และถอดมาตรวจสอบ หากมีเศษต่างๆติดมาก ให้เปลี่ยนใหม่ดีกว่า
8. ส้วมเหม็น ส้วมเต็ม ถ้าระดับน้ำลดลงไปมากแล้วยังอุดตัน อาจใช้ที่ปั๊ม งูเหล็ก มาลองทะลวงตามท่อก่อน
9. มีน้ำผุดขึ้นในบ้าน มักเกิดกับระบบโครงสร้างเกิดอาการแตกร้าว ซึ่งอาจจะแตกร้าวอยู่แล้ว หรืออาจจะเกิดการแตกร้าวจากแรงดันน้ำหลังจากน้ำรั่ว ให้หาแนวที่แตกร้าว ส่วนใหญ่จะเป็นรอยแตกที่พื้นหรือผนังส่วนล่าง หลังจากนั้นให้เรียกช่างเข้ามาตรวจสอบ
10. เฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ เตียง เก้าอี้ ถ้าอมน้ำได้แนะนำให้ทิ้งเพราะอาจมีสิ่งสกปรกตกค้างได้ ส่วนบิลท์อินถ้าบวามมากอาจต้องรื้อทำใหม่
       หลังจากตรวจสอบแล้ว เราควรทำการปรับปรุงบ้านด้วยวัสดุทนน้ำเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการรับมือกับปัญหาน้ำท่วม อย่างไรก็ตาม เจ้าของบ้านควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของวัสดุกับลักษณะการใช้งานและสภาพแวดล้อมของบ้าน รวมถึงการบำรุงรักษาที่เหมาะสมเพื่อยืดอายุการใช้งานของวัสดุเหล่านี้ด้วย   หากใครสนใจผลิตภัณฑ์ ในบทความ หรือต้องการสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลผลิตภัณฑ์ สามารถติดต่อ ฝ่ายขายเลิศวสิน โทร. 053126155   ได้เลยครับ